ผู้ประกอบรายได้เสริม อาชีพเสริม SMEs ไทยเตรียมรับมือ AEC

ผู้ประกอบรายได้เสริม อาชีพเสริม SMEs ไทยเตรียมรับมือ AEC กับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

ผู้ประกอบอาชีพเสริม รายได้เสริม จะต้องพยายามหาหนทางในการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้ในระยะยาว ซึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการรายได้เสริมควรให้ความสำคัญมี 5 แนวทางประกอบด้วย

  1. สร้างหรือค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะผู้ประกอบการจะมัวยึดติดกับการบริหารจัดการ หรือการผลิตสินค้าเดิม ๆ ไม่ได้ เพราะในอนาคตจะทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ถ้ามีสินค้าเดิม ๆ บวกกับการบริหารจัดการเดิม ๆ ที่มีต้นทุนสูง ผู้ประกอบรายได้เสริมจะไม่มีทางต่อสู้กับคู่แข่งได้
  2. ผู้ประกอบการจะต้องพยายามสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการรายเล็กจะยืนต่อสู้เพียงลำพัง คงเป็นไปไม่ได้ในยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเครือข่ายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้สามารถสร้างพลังในการต่อรองและการแข่งขันได้
  3. ผู้ประกอบการรายได้เสริม SMEs ต้องมีความเข้าใจและตื่นตัวกับ AEC ซึ่งก็มีเวลาเหลืออยู่ไม่มากนัก ดังนั้นต้องเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่ามีเรื่องใดบ้างที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับ AEC ถ้ารวมกันแล้วไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบในเรื่องใดบ้าง และต้องเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
  4. สร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง อนาคตธุรกิจ SMEs จะอยู่แค่เพียงในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสินค้าแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ เมื่อตลาดกว้างขึ้น ถ้าสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ ก็จะทำให้สามารถขยายตลาดต่อไปในอนาคตได้ง่ายดายขึ้น
  5. การให้ความสำคัญในเรื่องของกระแสสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะอนาคตเรื่องของสิ่งแวดล้อมจะเป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ตามจะต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นถ้าเลือกได้ผู้ประกอบการรายได้เสริม SMEs ควรจะเลือกผลิตสินค้าที่ไม่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อม หรือสินค้าประเภทที่ทำลายสุขภาพ เพราะสินค้าเหล่านี้จะไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในอนาคต

ผู้ที่คิดจะเริ่มประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ อาชีพเสริม ธุรกิจ SMEs ควรมีการวางแผนอย่างรอบคอบ รวมทั้งพยายามหาหนทางในการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้ในระยะยาว และเพื่อเป็นการช่วยเสริมศักยภาพและบรรเทาผลกระทบที่ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์จะได้รับ

 

การหารายได้เสริมหรืออาชีพเสริม เพิ่มเติมจากงานประจำ

การหารายได้เสริม งานพิเศษหรืองานอาชีพเสริม เพื่อหารายได้เพิ่มจากงานประจำ

แนวทางในการหารายได้เสริม หรืออาชีพเสริม ที่นอกเหนือจากการทำงานประจำที่เราทำอยู่ทุกวัน ซึ่งงานประจำที่ทำอยู่นั้น เป็นงานที่มีรายได้คงที่ตายตัว คือได้รับเป็นเงินเดือนประจำทุกเดือนจากนายจ้างหรือจากบริษัทที่เราทำงานอยู่ อาจจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำหรือขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ทำอยู่ หากอยู่ในตำแหน่งของผู้บริหารก็อาจจะได้รับค่าตอบแทนหรือเงินเดือนที่มากขึ้นมาหน่อย แต่ถ้าหากดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานปฏิบัติการทั่วไป ๆ ก็มีรายได้เป็นเงินเดือนตามมาตรฐานค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น อาจทำให้เรามีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หนทางในการแก้ปัญหานั้นเท่าที่คิดได้ก็มีอยู่หลายทาง ในเบื้องต้นเมื่อปัญหาหลักคือมีรายได้ประจำน้อย ก็ต้องหารายได้เสริมให้มากขึ้น โดยการหางานพิเศษทำนอกจากการทำงานประจำ อาจจะหารายได้เสริมหลังเลิกงาน หรือหางานพิเศษทำในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อนำเงินรายได้เสริมมาจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่ง

หากเราขยันในการหารายได้เสริม ไม่ขี้เกียจงอมืองอเท้าคอยแต่ความช่วยเหลือจากผุู้อื่น และยอมทุ่มเทในการทำงานหนักนอกเวลา หนักเบาเอาสู้ ในไม่ช้าคิดว่าเราก็ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นมาเพียงพอต่อการใช้จ่ายและเก็บออมในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอน

ผู้ประกอบอาชีพเสริม ควรหาแนวทางเปิดร้านอาหารไทยในจีน

ผู้ประกอบอาชีพเสริม หรือธุรกิจ SMEs ไทย มักจะไม่สนใจที่จะค้าขายนอกประเทศ ยิ่งเป็นเรื่องการลงทุนในต่างประเทศแล้ว ยิ่งแทบไม่มีโอกาส หรือไม่คิดเลย เพราะมักจะอ้างว่ามีทุนทรัพย์น้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับนิสัยของผู้ประกอบอาชีพเสริมนักธุรกิจจีน คือไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จีนจะมองว่าที่จะทำธุรกิจที่ใดที่หนึ่ง มีโอกาสที่จะทำกำไรได้หรือไม่ ขอเป็นเพียงเห็นโอกาสเล็กน้อย และประเมินธุรกิจหรือความสามารถตนเองว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้ อาจจะศึกษาและวางแผนคร่าว ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริม ธุรกิจ SMEs ของจีนก็จะลงมือทำเลย

ข้อนี้น่าจะเป็นความแตกต่างระหว่าการทำธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพเสริมไทยกับจีน ตัวอย่างที่พอจะเห็นก็คือ ผู้ประกอบอาชีพเสริมจากจีนหิ้วสินค้าจีนเข้ามาขายในไทย วางขายแบบข้างถนน หรือวางขายในลานจอดรถของห้าง สินค้าที่ขายส่วนใหญ่ก็จะเป็นแจกัน ตุ๊กตาเซรามิกจีน ดอกไม้ประดิษฐ์ บางร้านก็จำหน่ายพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก  ๆ ต้นทุนต่ำ เสื้อผ้าเครื่องประดับ สินค้าจำพวกนี้ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคไทยที่มีรายได้น้อย

การเปิดร้านอาหาไทยในจีน ก็พอจะเป็นไปได้ สำหรับนักลงทุนอาชีพเสริมของไทยอยู่เหมือนกัน การลงทุนที่ไหน ๆ ก็ไม่ง่าย แต่ต้องถามว่า ถ้าไปเปิดร้านอาหารหรือออกไปลงทุนพอจะมีผลตอบแทนคืนมาหรือไม่ พฤติกรรมการบริโภคของจีนเปลี่ยนแปลงไปมาก ชาวจีนมีฐานะดีขึ้นกว่าก่อนมาก มีเงินสำหรับจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น มีรสนิยม หรือสามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายจากรายรับที่มากขึ้น

โอกาสในการเปิดร้านอาหารไทยของผู้ประกอบอาชีพเสริมไทยมีมากอยู่ก็จริง แต่ทว่าการแข่งขันการทำร้านอาหารสูงมาก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง แต่หากนักธุรกิจไทยมีศักยภาพเพียงพอก็น่าลองดูอยู่เหมือนกัน

ที่มาบทความ www.108keajononline.blogspot.com

 

ผู้ประกอบอาชีพเสริม ควรมีความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียใหม่มาต่อยอดธุรกิจ

ไอเดียใหม่ ๆ ของผู้ประกอบอาชีพเสริม สามารถต่อยอดธุรกิจให้พัฒนาไปได้

ในขณะที่ธุรกิจเดิม ๆ ของผู้ประกอบอาชีพเสริม ก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาสินค้านวัตกรรมขึ้นมาใหม่ หากยังไม่พร้อม แต่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาเติมใส่ในตัวสินค้า เปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีความแปลกใหม่ โดดเด่น แตกต่าง และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันบนกระแสของการแปลงความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นตัวเงิน

ยกตัวอย่างเช่น สินค้าโอทอป ซึ่งมีรากฐานการผลิตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน หากสามารถนำดีไซน์มาใส่ในสินค้าอย่างเหมาะสม ลงตัวทั้งดีไซน์และการใช้งาน ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าของผู้ประกอบอาชีพเสริม ดูอินเตอร์มากขึ้นและถูกใจลูกค้าชาวต่างชาติที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราว ในสินค้าที่มีคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่น

ด้วยความที่ธุรกิจอาชีพเสริมหรือ ธุรกิจ SMEs มีขนาดเล็กและมีความคล่องตัวสูง การจะปรับเป็นผู้ประกอบอาชีพเสริมที่มีความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะคิดใหม่ในมุมมองที่แตกต่าง แต่ต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ในสังคมศตวรรษที่ 21 ก่อน คนกลุ่มนี้ไม่เพียงต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานการใช้งานแล้ว แต่ยังมีความต้องการด้านอื่น ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่นต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม ต้องการความเป็นเอกลักษณ์ ต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือต้องการหลีกหนีจากวิถีชีวิตเดิม ๆ ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพเสริม หรือ SMEs จึงต้องวิเคราะห์และรู้เท่าทันความต้องการของตลาดใหม่หรือผู้บริโภคยุคใหม่

อาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ Kimju อาหารราชวงศ์เกาหลี

อาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ แบรนด์ “กิมจู” (Kimju) อาหารเกาหลีต้นตำรับราชวงศ์

อีกหนึ่งแบรนด์ร้านคนที่ไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์ธุรกิจแฟรนไชส์มาจากเกาหลี แต่พัฒนาสูตรขึ้นมาเอง จากการทำอาชีพเสริมธุรกิจร้านเล็ก ๆ ปัจจุบันกลับกลายเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่มีหลายสาขา ที่ครบครันด้วยเมนูอาหาร ปิ้ง ย่าง อาหารเกาหลีเกือบทุกประเภทรายแรก ๆ ของเมืองไทย

คุณวิเชียร  อุดมศาสตร์พร  กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิมจูฟูดส์ จำกัด วางคอนเซ็ปต์ของร้านคือ อาหารราชวงศ์เกาหลี เนื่องจากมีเมนูที่หลากหลายตั้งแต่ระดับสามัญชนทั่วไปรับประทาน จึงระดับราชวงศ์ซึ่งรสชาติเน้นตามแบบฉบับเกาหลี โดยเพิ่มความเข้มข้นเพื่อให้ถูกปากคนไทย

นอกจากอาหารจานเดียวที่ขึ้นของร้านคิมจูแล้ว ยังเอาใจคนไทยที่คุ้ยเคยกับการรับประทานอาหารเกาหลีประเภmย่างอีกด้วยกับเมนูบุฟเฟ่ต์ รวม  7 ความอร่อยเข้าไว้ด้วยกัน

ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ อาชีพเสริม ร้านคิมจูมี 12 สาขาในกรุงเทพฯ แบ่งเป็น 5 สาขาที่ลงทุนเองและอีก 7 สาขาเป็นรูปแบบอาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ในทำเลตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อนาคตวางแผนขยายสาขาและตั้งเป้าหมาย อาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ กิมจูเป็นผู้นำร้านอาหารเกาหลีในห้างสรรพสินค้า

ตลาดอาหารเกาหลีถือว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก แม้จะมีมูลค่าในตลาดไทยเพียง 1,000 ล้านบาท น้อยกว่าอาหารญี่ปุ่นหลายเท่าตัว เนื่องจากมีนักธุรกิจเกาหลีมาลงทุนในไทยน้อยกว่าญี่ปุ่น แต่ร้านอาหารเก่าหลีที่มีลักษณะการลงทุนเต็มรูปแบบยังไม่มี เห็นได้จากตามห้างสรรพสินค้าจะเน้นร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจึงวางมาตรฐานร้านอาหารเกาหลี เพื่อรองรังการเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า

DITP ติดอาวุธผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์และอาชีพเสริม SMEs พิชิตตลาดโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดเสวนาในหัวข้อ “ติดอาวุธ SMEs พิชิตตลาดโลก” เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบอาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจ SMEs

งานเสวนา “ติดอาวุธ SMEs พิชิตตลาดโลก” โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จะแบ่งการเสวนาออกเป็น 3 หัวข้อ คือ

  1. โครงการ SMEs proactive เสริมศักยภาพ SMEs พิชิตตลาดโลก แนะนำผู้ประกอบการอาชีพเสริม ธุรกิจ SMEs ธุรกิจแฟรนไชส์ เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างมั่นคง
  2. เพิ่มช่องทางการค้าด้วย Thaitrade.com แนะนำผู้ประกอบการอาชีพเสริม ธุรกิจ SMEs ธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ทราบถึงโอกาสทางธุรกิจในระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่า สามารถช่วยทั้งด้านการลดต้นทุนเวลา ลดต้นทุนด้านการโฆษรา และด้านอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการอาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ ได้เข้าใจถึงการดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ ขยายโอกาสช่องทางธุรกิจแก่ผู้ส่งออกไทย รวมทั้งเปิดมุมมองใหม่ และสร้างแนวคิดกลยุทธ์การทำตลาดออนไลน์
  3. การให้บริการผู้ประกอบการอาชีพเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนะนำถึงการให้บริการต่าง ๆ ของ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่นการแก้ไขปัญหาการส่งสินค้า ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ ก็สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาได้ พร้อมให้ความรู้ด้านการขนส่งแก่ผู้ประกอบการที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ เพื่อการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

พร้อมกับแนะนำ “โครงการต้นกล้า SMEs” ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจส่งออก และร่วมแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ร่วมสัมมนาได้รับฟังอีกด้วย